วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เล่ากันว่า"ไอศครีม"มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนในต่างประเทศ ทั้งนี้ได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะใช้รับประทานกันแต่ภายในวังเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไอศกรีมเป็นอาหารหวานที่ทันสมัยหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหมาก็ว่าได้ ใครได้ลองรับประทานไอศกรีมในสมัยนั้นก็ถือว่า เป็นคนที่ก้าวล้ำนำสมัยไปโดยปริยาย
สืบสาวต้นกำเนิดไอศกรีมยุคโบราณ จุดเริ่มต้นของไอศกรีมในระดับสากล นายโทมัส อาร์ควินนี่ เล่าว่า การรับประทานไอศกรีมน่าจะเริ่มต้นกันมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเนโรห์ แห่งอนาจักรโรมันที่ได้พระราชทานเลี้ยงไอศกรีมแก่เหล่าทหารหาญที่อยู่ในกองทัพของพระองค์ แต่ในขณะนั้นไอศกรีมเกิดจากเป็นการนำหิมะมาผสมเข้ากับน้ำผึ้งและผลไม้ ต่อมาเรียกไอศกรีมประเภทนี้ว่า เชอร์เบ็ท(Sherbet)นั่นเอง แต่ตำนานนี้ก็หาได้เป็นแค่ตำนานเดียวที่เล่าสืบต่อกันมาถึงต้นกำเนิดของไอศกรีมไม่ หากแต่บางกระแสก็ระบุว่าบรรพชนของคนจีนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 4,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งลักษณะของไอศกรีมในประเทศจีนทำมาจากข้าวบดผสมกับนมสดที่เย็นจนเป็นนำแข็งและได้มีการสอนให้ทำไอศกรีมให้กับคนอินเดีย
และชาวเปอร์เชียอีกด้วย การก่อกำเนิดไอศกรีมตามตำนานประเทศจีนระบุว่า เป็นเรื่องของความบังเอิญแท้ๆ ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีนในสมัยนั้นเพิ่งจะมีการรู้จักรีดนมจากสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในฟาร์ม เมื่อรีดออกมาจำนวนมากก็บริโภคไม่หมด ประกอบกับน้ำนมเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมากๆ คนชั้นสูงเห็นท่าไม่ดีจึงเกิดแนวคิดนำน้ำนมไปหมกซ่อนไว้ในหิมะนัยว่าเพื่อต้องการที่จะถนอมน้ำนมเอาไว้รับประทานได้นานๆ เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญแท้ๆ จนกระทั่งน้ำนมที่นำไปหมกไว้ในหิมะกลายเป็นนมแช่แข็งขึ้นมาในบัดดล จากนั้นก็มีการพัฒนารูปแบบจากนมแช่แข็งที่แสนจะสุดธรรมดาให้กลายเป็นน้ำผลไม้แช่แข็ง ในส่วนของราชวงศ์โมกุลได้นำเอานมต้มมาผสมกับถั่วพิสตาซิโอจนเกิดเป็นของหวานแช่แข็งเรียกกันว่า Kulfi ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแบบแผนของไอศกรีมในยุคโบราณ จนปลายศตวรรษที่ 13 มาร์โคโปโล เดินทางไปจีน และชื่นชอบ จึงนำสูตรกลับไป อิตาลีขณะเดินทางมีการเติมนมลงไป กลายเป็นสูตร ของเขาโดยเฉพาะ และแพร่หลายไปในอิตาลี ฝรั่งเศสและข้ามไปอังกฤษ คนอิตาลีถือว่าตนเองเป็นต้นตำรับไอศกรีมแบบที่นำมาปั่นให้เย็นจนแข็ง เรียกว่าเจลาติ (Gelati) ประเทศอิตาลีและมีการพัฒนาไปมากจนทำให้อิตาลีได้ชื่อว่าเป็นแหล่งไอศกรีมเลิศรสเลยทีเดียว ขณะเดียวกันคนอิตาลีมักจะทึกทักเอาว่าบรรพชนของตนเป็นคนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรกเสมอมา แถบยุโรปประมาณ ค.ศ.1670 ฟรานเอสโก ได้นำไอศกรีมไปจำหน่ายภายในร้านกาแฟของเขาเพื่อให้บริการลูกค้าของเขาปรากฏว่าได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวางมากทีเดียวไอศกรีม
ได้รับการพัฒนากระบวนการผลิตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง ค.ศ.1846 นางแนนซี่ จอห์นสัน ก็สามารถสร้างเครื่องผลิตไอศกรีมขึ้นมาได้เป็นครั้งแรก และนับเป็นจุดที่ทำให้ไอศกรีม เผยแพร่เข้าไปทั่วโลกก็ว่าได้ เส้นทางการแพร่หลายของเจ้าไอติม ที่น่าสนใจก็คือเมื่อประมาณศตวรรษที่ 14 ไอศกรีมได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศเทศอิตาลีและฝรั่งเศส ซึ่งในประวัติศาสตร์ ของไอศกรีมช่วงนี้ระบุว่า ในงานฉลองอภิเษกสมรสระหว่างแคเธอรีน เดอ เมดิซี แห่งเวนิชกับกษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 ของฝรั่งเศสได้มีการนำ ของหวานกึ่งแช่แข็งมาเสริฟแขกเหรือที่มาร่วมงาน สำหรับรูปร่างหน้าตาเหมือนกับไอศกรีมไม่มีผิดเพี้ยน และนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งทำให้ ไอศกรีมกลายเป็นของหวานของคนค่อนโลกไปโดยปริยาย เล่ากันว่าในช่วงแรกๆที่มีไอศกรีมต้องผ่านการผลิตที่ค่อนข้างจะยุ่งยากเนื่องจากต้องใช้เวลาและต้องลงแรงตามสมควร เมื่อได้ผลิตผลจากการลงแรงที่เป็นไอศกรีมเย็นเฉียบแล้ว ก็ต้องเกณฑ์คนมาช่วยกันรับประทานให้หมดมิเช่นนั้นแล้วไอศกรีมก็จะละลายกลายเป็นน้ำไปในเวลาอันรวดเร็ว กลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าในที่สุด การแพร่หลายของไอศกรีมจากฝรั่งเศสเข้าไปอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 จนไอศกรีมกลายเป็นของหวานที่ผู้คนชื่นชอบกันมาก ในช่วงนี้ตำนานไอศกรีมในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ "ไอศกรีมซันเดย์"ได้ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางความอึมครึมเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่า เกิดขึ้นในรัฐไหนกันแน่ แต่ที่แน่ๆในราวๆปี พ.ศ. 2435 ไอศกรีมซันเดย์ได้ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางความตื่นเต้นของอเมริกันชนสมัยนั้นอย่างถ้วนหน้า "ไอศกรีมซันเดย์"ถูกนักบวชประท้วง เล่ากันสืบมาว่า ในรัฐนิวยอร์มีการนำคำว่า "ซันเดย์"มาใช้ตั้งชื่อไอศกรีม สืบเนื่องจากทางร้านขายยาที่มีชื่อ "แพลตต์แอนด์โคต์" โดยนายเชสเตอร์ แพลตต์ เจ้าของร้านเกิดไอเดียใหม่ๆขึ้นมาโดยการนำเอาไอศกรีมมาจำหน่าย ตามปรกติแล้วเชสเตอร์เขาจะตักไอศกรีมขายปรกติธรรมดาๆ ต่อมาวันหนึ่งซึ่งเป็นวันอาทิตย์ นายเชสเตอร์ แพลตต์ ได้รับแรงดลใจอะไรสักอย่างเลยตักไอศกรีมใส่ถ้วยแชมเปญแล้วนำเอาไซปรัสรสเชอรี่มาราดลงบนก้อนไอศกรีมด้วย และประดับด้วยผลเชอรี่แช่อิ่มบนยอด ดูสวยงามน่ารับประทานเป็นอย่างยิ่ง จากกลยุทธ์อันนี้เองสามารถเรียกร้องความสนใจจากลูกค้าขาประจำและขาจรของนายเชสเตอร์ แพลลต์ได้เป็นอย่างดี หลังจากที่เกิดไอเดียอันบรรเจิดจนได้"ไอศกรีมหน้าตากแปลกๆ"ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าไอศกรีมดังกล่าวก็ขายดีเป็นเท น้ำเทท่า จนนายเชสเตอร์ แพลตต์ จนนับเงินกันแทบไม่ทัน และเขาไม่ลืมที่จะตั้งชื่อให้ ไอศกรีมสูตรดังกล่าวเสียอย่างเลิศหรูว่า "Cherry Sunday" โดยให้เหตุผลง่ายๆว่า เพราะมันก่อกำเนิดขึ้นในวันอาทิตย์นั่นเอง ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราได้รับรู้รับทราบถึงเส้นทางของ "ไอศกรีมซันเดย์" ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร แต่นั่นไม่ได้เป็นตำนานเดียวเท่านั้น เนื่องจากยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับไอศกรีมซันเดย์อีกหลายตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา วันอาทิตย์"ที่มาของSunday เป็นที่น่าสังเกตว่าจากตำนานต่างๆของไอศกรีมซันเดย์มักจะเกี่ยวพันอยู่กับวันอาทิตย์แทบทั้งสิ้น อย่างกรณีของการบอกเล่าของ "นายจอร์จ กิฟฟี่" คนดังแห่งรัฐวิสคอนซิน ระบุว่า เหตุที่มีการเลือกใช้คำว่า Sunday เพราะวันอาทิตย์เป็นวันที่อเมริกันชนชาวคริสต์ส่วนใหญ่จะไปเข้าโบสถ์กันแทบทุกคน ในวันนี้ผู้คนจะแต่งตัวดีๆพอช่วงเวลาหลังจากเสร็จพิธีในโบสถ์แล้ว คริสตศาสนิกชนก็จะชักชวนกันไปหาของหวานรับประทานกัน ดูเหมือนว่าเจ้าไอศกรีมเป็นของหวานชนิดแรกๆที่ถูกเลือก และแม้ว่าไอศกรีมจะมีราคาแพงเท่าไหร่ก็ตามก็ไม่มีใครจะปริปากบ่นเพราะวันแห่งการเข้าโบสถ์นับเป็นวันแห่งมงคลนั่นเอง อย่างไรก็ตามต่อมาคำว่า "Sunday" ได้ถูกเปลี่ยนมาใช้ "Sundae"สาเหตุจากการที่ในหมู่คริสต์ศาสนิกชนโดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำในแวดวงศาสนาได้ดาหน้าออกมาโจมตีว่าการนำคำว่า "Sunday"มาใช้ว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากวันอาทิตย์เป็นวันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งการนำวันดังกล่าวมาตั้งเป็นชื่อของหวานเป็นสิ่งไม่บังควร แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่ชื่อของ "ไอศกรีมซันเดย์"แพร่หลายไปทั่วโลกอย่างยากที่จะหยุดยั้งได้แล้ว แม้ว่าชื่อของมันจะถูกเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตามที แต่รสชาติความอร่อยของมันได้ฝังรากลึกเข้าไปนั่งในใจคนทั่วโลกเสียแล้ว ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ถึงกับลงทุนถึง 200 ดอลลาร์ซื้อเครื่องปั่นไอศกรีม ไปทำกินเองในหน้าร้อน คนไทยตื่นเต้นได้ลิ้มรสไอติมสมัยร.5 ส่วนสังคมไทยไอศกรีมได้เข้ามาปรากฏตัวในตั้งแต่รัชสมัยของรัชกาลที่ 4 คาบเกี่ยวถึง รัชกาลที่ 5 โดยเข้ามาทางประเทศสิงคโปร์ในขณะนั้นมีการนำน้ำแข็งเข้ามาก่อนที่จะนำไอศกรีมเข้ามา คนไทยสมัยนั้นมักจะเรียกไอศกรีมกันติดปากว่า "ไอศครีม"หรือ"ไอติม"และนับเป็นของหวานประเภทเดียวที่สร้างความประหลาดให้กับสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องใช้ความเย็นเป็นตัวสำคัญในการทำ เล่ากันว่าสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 4 มีการจำหน่ายกันเฉพาะน้ำแข็งที่ใส่น้ำหวาน ต่อมาได้พัฒนาเป็นไอติมหลอดเนื่องจากนำน้ำหวานลงไปในหลอดโดยผสมออกเป็นหลายรสชาติ ขณะเดียวกันก็ผสมสีลงไป ทั้งสีแดง สีส้ม สีเขียว สีดำ สีชา ทั้งนี้เพื่อที่จะสร้างความสวยงามแปลกใหม่ และสามารถสร้างแรงดึงดูดลูกค้าตัวน้อยๆได้อีกทางหนึ่ง และที่สำคัญมีการนำกลยุทธ์การตลาดแจกแถมขึ้นมาใช้กันด้วย โดยการนำสีแดงไปทาไว้ที่ไม้ไผ่ซึ่งใช้เสียบไอติมหลอด ใครซื้อได้ไม้เสียบสีแดงก็สามารถที่จะนำไม้ มาแลกไอติมหลอดฟรีๆได้อีก 1 อัน พัฒนามีให้เลือกหลากหลายรสชาติ ไอศครีมถูกพัฒนาไปอ ย่างต่อเนื่องมีการนำไอศกรีมตักใส่แก้ว ใส่ถ้วย แถมด้วยใส่ขนมประเภท ลอดช่อง ขนุน ถั่วลิสง เม็ดบัว ถั่วแดง ลงไปบนหน้าไอศกรีมทั้งนี้เพื่อที่จะเพิ่มพูนรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญไม่ลืมที่จะเหยาะนมสดหรือช็อกโกเล็ตลงไปบนก้อนไอศกรีมด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีไอศกรีมชนิดตัก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นไอศกรีมกะทิรูปลักษณะเป็นแท่งใหญ่ๆแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กเสียบไม้ไว้แบ่งขาย ทั้งนี้มีให้เลือกหลากหลายรสชาติ ทั้งทุเรียน กาแฟ ชา ชอกโกเล็ตและเผือก เป็นต้น ในขณะเดียวกันธุรกิจร้านขายไอศกรีมกลายเป็นธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ก็ คือ วัยรุ่น ทั้งได้พัฒนาไอศกรีมเป็นไอศกรีมสมุนไพรก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านสุขภาพ เนื่องจากแคลอรีต่ำ เพื่อสนองตอบต่อลูกค้าที่ต้องการควบคุม เรื่องอาหาร ปัจจุบันนอกจากมีการทำไอศกรีมไว้รับประทานเองแล้ว ยังมีการทำไอศกรีมในรูปของโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตไอศกรีมจำนวนมากๆส่งป้อนตลาด ทั้งนี้มีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง ซึ่งในตลาดขณะนี้มีอยู่จำนวนมากมายหลายยี่ห้อ บางยี่ห้อแบรนด์สินค้าเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคในท้องตลาด เรียกได้ว่าติดตลาดแล้วเป็นการถาวร ทั้งในรสชาติความเอร็ดอร่อย รสหวานเย้ายวนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ความนิยมและคลั่งไคล้ในรสชาติของไอศกรีมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั้งวัยเด็กวัยผู้ใหญ่ทุกคนก็ไม่เคยปฏิเสธไอศกรีม จนทำให้มีการพัฒนาไอศกรีมทั้งในรูปองรสชาติ รูปแบบ ภาชนะที่ใส่ วัตถุที่จะนำมาปรุงแต่งให้ได้ไอศกรีมเป็นที่เป็นที่ชื่น ชอบของผู้บริโภคนับตั้งแต่ชาเขียว กระเจี๊ยบ มะละกอ ชมพู่ งาดำ นับวันก็มีไอศกรีมหลายรสชาติให้เลือกกันรับประทาน มากมายจนจำกันแทบไม่หวาดไม่ไหวเวลาจะสั่งก็ต้องดูที่เมนูเป็นหลัก จากการของหวานที่ถูกค้นพบด้วยความบังเอิญไม่ว่าจะเป็นตำนานของคนจีนที่นำน้ำนมไปเก็บไว้ใน กองหิมะแล้วกลายเป็นน้ำแข็งรสหอมหวาน หรือตำนานทางยุโรปที่นำนมผสมกับหิมะกลายเป็นไอศกรีมก็ตามที ทำให้เราเห็น เส้นทางเดินของไอศกรีมกันแล้วว่าเป็นมายาวนานเพียงใด จนกระทั่งทุกวันนี้ของหวานประเภทนี้ได้ถูกพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และแพร่กระจายเข้าไปเกาะกุมหัวใจของคนได้ทั่วโลก ปัจจุบันเรียกได้ไอศกรีมกลายเป็นของหวานของคนค่อนโลกแล้วก็ว่าได้ ธุรกิจไอศกรีมต้นทุนต่ำกำไรสูง ตลาดไอศกรีมเป็นตลาดที่มีการเจริญเติบโตผู้ผลิตไอศกรีมรายย่อยคิด เป็นจำนวน 78% ของตลาดไอศกรีมทั่วโลกส่วนผู้ผลิตไอศกรีมรายใหญ่ (ยูนิลิเวอร์ , เนสเล่ ,มาร์ส ฯลฯ) คิดเป็นเพียง 22% ของตลาดไอศกรีมทั่วโลกด้วยวิธีการซื้อกิจการบวกกับการตลาด การผลิตและความชำนาญทางด้านการขายที่เหนือกว่าทำให้บริษัทที่ผลิตไอศกรีมต่างๆ สามารถเพิ่มส่วนแบ่ง ตลาดของไอศกรีมทั่วโลกได้ ในทุกวันนี้ตลาดไอศกรีมพร้อมที่จะได้รับการขยายตลาดสูงด้วยระดับการบริโภคที่ต่ำทำให้มีโอกาสในการผลิตสูงในการเพิ่มปริมาณการบริโภคด้วย กลยุทธทางการโฆษณา การส่งเสริมการขายและการวางตลาดของผลิตภัณฑ ์ไอศกรีม แปลกๆ ใหม่ๆการบริโภคไอศกรีมในครัวเรือนมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเนื่องจาก ในปัจจุบันนี้อุปกรณ์การแช่แข็งแพร่หลายไปทั่วโลก ตลาดไอศกรีมเป็นตลาดที่มีกำไรสูงราคาต้นทุนของส่วนผสมต่างๆไม่สูงมากนัก(ยกเว้นส่วนผสมที่นำเข้าจากต่างประเทศ) ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อไอศกรีมทันที่เพื่อตอบสนองความพอใจส่วนตัว ดังนั้นผู้บริโภค จึงพร้อมจะจ่ายเงินสูงกว่าเพื่อผลิตภัณฑ์ที่เขาต้องการมากกว่า มีความรู้ X วชาญในตลาดไอศกรีม มีแหล่งส่วนผสมต่างๆ
เช่นน้ำตาล,ลูกกวาด,ผลไม้ช๊อกโกแลตและ นมมีความรู้เกี่ยว กับผลิตภัณฑ์นมช๊อกโกแลต ลูกกวาดและอาหารแช่แข็งเป็นอย่างดี มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และการผลิตแบบอุตสาหกรรมด้วยมีกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ ในแบรนด์และและแนวคิดต่างๆมากมายมีความสามารถและประสบการณ์ทางด้านการ ตลาด และการขาย สำหรับขั้นตอนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม 1 การเตรียมส่วนผสม โดยการชั่งส่วนผสมทั้งหมดและผสมให้เข้ากัน 2 การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน และการฆ่าเชื้อ (Homogenize and Pasteurize) ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส 2-3วินาที 4.การทำให้เย็น (Cooling) โดยการบ่มในห้องเย็นเป็นเวลา 10-12 ชั่วโมง 5.การทำให้แข็งตัว (Freezing) โดยนำมาปั่นในเครื่องปั่นไอศกรีม 6. การบรรจุ (Packaging) ส่วนผสมของไอศกรีม ไขมันนม อาจได้จากสัตว์ หรือ จากพืช ก็ได้ เป็นตัวทำให้เกิดเนื้อสัมผัส รสชาติ และกลิ่นรส ที่ดี milk solid not fat (MSNF)
เป็นตัวช่วยลดจุดเยือกแข็ง ได้แก่ lactose โปรตีน และ เกลือแร่ต่างๆ สารให้ความหวาน (sweetener) มักนิยมใช้ น้ำตาลทรายน้ำ และ อากาศ สารที่ทำให้คงตัว (stabilizer) สารที่ช่วยให้ส่วน ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน (emulzifier) สีและกลิ่น (colouring and flavouring) สำหรับการโฮโมจิไนส์ หมายถึง การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันนี้เรียกว่า "โฮโมส์เซอร์" (homogenizer) หลักการคือ น้ำนมที่อุ่นให้ร้อนพอเหมาะจะถูกอัดในกระบอกสูบด้วยความดันสูง ผ่านรูตีบของลิ้น ซึ่งมีแรงกดประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว จะทำให้เม็ดไขมันนมซึ่งปกติมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 4-6 ไมครอน ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลงเพียง 0.2-2.2 ไมครอน ซึ่งจะทำให้แทรกตัวอยู่ในน้ำนมได้ทนทาน ไม่แยกตัวลอยขึ้นสู่ผิวบนเป็นชั้นครีมได้ง่าย การที่ไขมันกระจายตัวเป็นเนื้อเดียวกับนม ได้ดีเช่นนี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้นมอร่อยไปทุกหยดเท่านั้น แต่ยังทำให้คุณสมบัติทางฟิสิกส์บางอย่างเปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย ประโยชน์การทำโฮโมจิไนส์ 1. ทำให้เม็ดไขมันเล็กละเอียดลง เพื่อให้ไขมันกระจายตัวแทรกอยู่ในน้ำนมได้ทนทาน ทำให้นมมีรสอร่อยทั่วทุกหยด 2. ป้องกันการเกิดชั้นครีม เม็ดไขมันที่มีขนาดเล็กย่อมแทรกอยู่ในน้ำนมได้นาน จึงไม่แยกตัวลอยขึ้นมารวมตัวเป็นชั้นครีม 3. ทำให้นมย่อยง่ายขึ้น นมที่ผ่านการโฮโมจิไนส์มาแล้ว โปรตีนนมจะมีค่า curd tension ต่ำทำให้ย่อยง่าย เหมาะที่จะใช้ เป็นอาหารทารก 4. ทำนมคืนรูปและผลิตภัณฑ์นมคืนรูปต่าง ๆ นมคืนรูปหรือผลิตภัณฑ์นมคืนรูปต่าง ๆ ที่ต้องผสมไขมันเข้าไปด้วยนั้น ต้อง นำมาโฮโมจิไนส์เพื่อการทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน 5. ทำให้ไอศกรีมมีเนื้อนุ่ม การทำไอศกรีมนั้นต้องผสมสารอาหารหลายอย่างเข้าด้วยกัน ถ้าจะให้เป็นเนื้อเดียวกันจริง ๆ จะต้องนำมาโฮโมจีไนส์ด้วย 6. เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายในขบวนการผลิต การผลิตนมสเตอริไลส์และนม ยู เอช ที นั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องทำให้เนื้อเดียวกัน ดังนั้นการโฮโมจิไนส์จึงมีความจำเป็น วิธีการโฮโมจิไนส์ 1. นมต้องผ่านการกรองมาแล้วอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนมต้องปราศจากผงของกรวดหรือทราย เพราะของแข็งเหล่านี้เป็นอันตรายต่อ กระบอกสูบมาก 2. นมต้องร้อนอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๑๒๐ องศา ฟ. (๔๘.๘ องศา ซ.) 3. นมหรือผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาโฮโมจิไนส์นั้นจะต้องอยู่ในสภาพของเหลวที่ไหลได้ คือต้องไม่ข้นจนเกินไป 4. นมหรือผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาโฮโมจิไนส์นั้น จะต้องมีเครื่องปั๊มส่งเข้าเครื่องโฮโมจิไนส์เซอร์ มิฉะนั้นจะต้องอยู่ระดับสูงกว่าลิ้นเข้า (inlet) ของเครื่องโฮโม จิไนส์เซอร์ ระดับความสูงดังกล่าวย่อมมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิดังต่อไปนี้คือ อุณหภูมิ 170 องศา ฟ. (76.6องศา ซ.) ต้องอยู่สูงจากลิ้นเข้า อย่างน้อย 1 ฟุต อุณหภูมิ 180 องศา ฟ. (82.2 องศา ซ.) ต้องอยู่สูงจากลิ้นเข้า อย่างน้อย 3 ฟุต อุณหภูมิ 190 องศา ฟ. (87.7 องศา ซ.) ต้องอยู่สูงจาก ลิ้นเข้า อย่างน้อย 5 ฟุต กระบวนการทำไอศกรีม การทำไอศกรีมไม่ได้ยุ่งยากแต่อย่างใด บางคนอาจจะทำไว้รับประทานเองหรือจะทำไว้ขายก็สุดแท้แล้วแต่จุดประสงค์ของแต่ละคน แต่ถ้าอยากได้ไอศกรีมรสชาติใหม่ๆ ก็สามารถที่จะลองเติมข้าวโพดต้ม เม็ดแมงลัก ลอดช่อง มะพร้าวอ่อนเพิ่มลงไปขณะที่ไอศกรีมกำลังหนืดๆ อยู่ในเครื่องปั่นไอศกรีมก็ได้ เพราะจะทำให้ได้ไอศกรีมรสชาติใหม่ๆไว้รับประทานกัน หลักการทำไอศกรีมพอแบ่งออกได้เป็น 2 หลักการ อันประกอบด้วย 1.การแช่แข็งโดยใช้ช่องแช่แข็งของตู้เย็น ปัจจุบันนิยมบรรจุลงในกล่องพลาสติก จำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า 2.การปั่นด้วยมือหรือเครื่องปั่น วิธีนี้นิยมใช้มานานแล้ว เนื่องจากใช้ทุนน้อยและเนื้อไอศกรีมเนียนนุ่มมีความแข็งแน่นมากกว่าวิธีแช่แข็ง ถ้าปั่นด้วยมอเตอร์ที่มีความเร็วพอเหมาะ จะทำให้ฟองอากาศถูกอัดแน่น และเกร็ดของไอศกรีมละเอียดยิบ การผลิตไอศกรีม ไม่ว่าจะผลิตด้วยระบบโรงงานหรือปั่นด้วยมือ มีสูตรที่พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงได้ ต่างกันตรงที่ระบบโรงงาน อาจใช้ทุนสูงและ คนงานมาก การขายจึงขยายขอบข่ายกว้าง อาจเป็นการผลิตด้วยวิธีแช่แข็ง แล้ววางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าที่มีตู้แช่ ส่วนการปั่น ด้วยมือ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่ขายเฉพาะ ที่ขายในท้องถิ่นและวงไม่กว้างนัก สูตรการทำไอศกรีมที่จะกล่าวต่อไปท่านจะปั่นก็ได้ หรือใส่ภาชนะแช่แข็งก็ได้ เป็นไอศครีมชนิดใช้ช้อนตักไม่ใช่ไอศครีมแท่ง

ไม่มีความคิดเห็น: