วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

. ประวัติเครื่องบิน เอฟ-5 ( F-5 )
ในช่วงปลายสงครามเวียดนาม กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้พบว่าเครื่องบินขับไล่ทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่แบบ เอฟ-111 ได้กลายเป็นเป้าซ้อมปืนและจรวดให้กับนักบิน มิก-21 อย่างมันมือ ด้วยความใหญ่และหนักของ เอฟ-111 ไม่อาจสร้างความได้เปรียบในการรบแบบติดพัน (Dog Fight) ได้ ดังนั้น เอฟ-111 จึงถูกเปลี่ยนภารกิจให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาและออกปฏิบัติการภายใต้การคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-4 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่เบาขนาด 2 ที่นั่ง ซึ่งว่าไปแล้วก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่ดี และจะต้องใช้ถึงสองเครื่องในการไล่ต้อน มิก-21 ที่แสนจะปราดเปรียว ซึ่งในการดวลกันตัวต่อตัวระหว่าง เอฟ-4 กับ มิก-21 นั้น ส่วนใหญ่ มิก-21 จะบินหลบหนีไปได้
ความต้องการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาเพื่อต่อกรกับ มิก-21 อย่างสูสี ทำให้เอฟ-5 เอของบริษัท นอร์ธรอปซึ่งแต่เดิมถูกจัดวางไว้ในฐานะเครื่องบินลาดตระเวนโจมตีเบาและตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศเช่นเดียวกับเครื่อง เอ-4 ถูกจับตามองด้วยความสนใจ เพราะเอฟ-5 เป็นเครื่องบินเบาที่มีท่วงท่าการบินและความปราดเปรียวคล่องตัวที่ใกล้เคียงกับ มิก-21 มากที่สุด ดังนั้นบริษัท นอร์ธรอป จึงได้รับสั่งให้อัพเกรดเครื่องเอฟ-5 เป็นเครื่องบินขับไล่เบา
เครื่องเอฟ-5 ได้รับการปรับปรุงโดยการขยายโครงสร้างให้ใหญ่และยาวขึ้นกว่าเดิมประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ใช้เครื่องยนต์ของ เยเนอรัล อิเลคทริค รุ่นใหม่ที่มีแรงขับดันสูงขึ้น ติดเรดาห์ที่มีขีดความสามารถจับเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในระยะ 15 ไมล์ สามารถยิงจรวดอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยอินฟราเรดแบบ เอไอเอ็ม-9 และเรียกเอฟ-5 รุ่นนี้ว่าเอฟ-5 อี ไทเกอร์ทูว์
เอฟ-5 อี ถูกส่งเข้าประจำการใน เวียดนามใต้ เพียงไม่กี่ร้อยเครื่องและยังไม่ทันได้ประมือกับมิก-21 สหรัฐอเมริกาก็ยอมถอนตัวออกจากสงครามเวียดนามพร้อมกับทิ้งเอฟ-5 อี จำนวน 350 เครื่องไว้ในเวียดนาม ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้เก็บรักษาเอฟ-5 อี ไว้ในอนุสรณ์สถานสงครามเวียดนามเพียงไม่กี่เครื่องและทิ้งส่วนที่เหลือให้ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่มีการซ่อมบำรุงและอะไหล่สนับสนุน
สหรัฐอเมริกาเองก็ยังคงใช้งานเอฟ-5 อี มาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ในสามภาระกิจคือ เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติในการฝึกหลักสูตรท็อปกัน (TOP GUN) เพราะเอฟ-5 อี มีลักษณะการบินที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่มิกของรัสเซียมาก ใช้เป็นเครื่องบินสังเกตการณ์การบินของอากาศยานทดลองและใช้ฝึกนักบิน โดยใช้ที-38 แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นที-45 ของอังกฤษแล้ว กองทัพอากาศไทยก็ได้ทำการปรับปรุงเอฟ-5 อี ในประจำการให้มีขีดความสามารถในการรบเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนเรดาห์ให้สามารถจับเป้าข้าศึกได้ในระยะ 25 ไมล์ เพิ่มจอฮัด (HUD) ติดระบบนำร่องแบบทาแคนซึ่งเอฟ-5 อีของกองทัพอากาศไทยเมื่อปรับปรุงแล้ว จึงมีขีดความสามารถในการยิงจรวดนำวิถีแบบไพธอน 4 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ยิงเอไอเอ็ม-9 ได้แบบเดียวเท่านั้น
เครื่องบินขับไล่เบาที่เป็นอมตะที่สุดในโลกนี้ (ยังคงประจำการในกองทัพของประเทศผู้ผลิตจนถึงปัจจุบัน) นอกจากมิก-21 แล้ว มีเพียงเอฟ-5 อีคู่ปรับที่ไม่เคยเจอกันเลยตลอดกาล
ในช่วงปลายสงครามเวียดนาม กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้พบว่าเครื่องบินขับไล่ทางยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่แบบเอฟ-111 ได้กลายเป็นเป้าซ้อมปืนและจรวดให้กับนักบินมิก-21 อย่างมันมือ ด้วยความใหญ่และหนักของเอฟ-111 ไม่อาจสร้างความได้เปรียบในการรบแบบติดพัน (Dog Fight) ได้ ดังนั้นเอฟ-111 จึงถูกเปลี่ยนภารกิจให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาและออกปฏิบัติการภายใต้การคุ้มกันของเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-4 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ขนาด 2 ที่นั่ง ซึ่งว่าไปแล้วก็ยังมีขนาดใหญ่อยู่ดี และจะต้องใช้ถึงสองเครื่องในการไล่ต้อนมิก-21 ที่แสนจะปราดเปรียว ซึ่งในการดวลกันตัวต่อตัวระหว่างเอฟ-4 กับมิก-21 นั้น ส่วนใหญ่มิก-21 จะบินหลบหนีไปได้
ความต้องการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาเพื่อต่อกรกับมิก-21 อย่างสูสี ทำให้เอฟ-5 เอของบริษัทนอร์ธรอปซึ่งแต่เดิมถูกจัดวางไว้ในฐานะเครื่องบินลาดตระเวนโจมตีเบาและตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศเช่นเดียวกับเครื่องเอ-4 ถูกจับตามองด้วยความสนใจ เพราะเอฟ-5 เป็นเครื่องบินเบาที่มีท่วงท่าการบินและความปราดเปรียวคล่องตัวที่ใกล้เคียงกับมิก-21 มากที่สุด ดังนั้นบริษัทนอร์ธรอปจึงได้รับสั่งให้อัพเกรดเครื่องเอฟ-5 เป็นเครื่องบินขับไล่เบา
เครื่องเอฟ-5 ได้รับการปรับปรุงโดยการขยายโครงสร้างให้ใหญ่และยาวขึ้นกว่าเดิมประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ใช้เครื่องยนต์ของเยเนอรัล อิเลคทริครุ่นใหม่ที่มีแรงขับดันสูงขึ้น ติดเรดาห์ที่มีขีดความสามารถจับเป้าหมายได้อย่างแม่นยำในระยะ 15 ไมล์ สามารถยิงจรวดอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยอินฟราเรดแบบเอไอเอ็ม-9 และเรียกเอฟ-5 รุ่นนี้ว่าเอฟ-5 อี ไทเกอร์ทูว์
เอฟ-5 อี ถูกส่งเข้าประจำการในเวียดนามใต้เพียงไม่กี่ร้อยเครื่องและยังไม่ทันได้ประมือกับมิก-21 สหรัฐอเมริกาก็ยอมถอนตัวออกจากสงครามเวียดนามพร้อมกับทิ้งเอฟ-5 อี จำนวน 350 เครื่องไว้ในเวียดนาม ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้เก็บรักษาเอฟ-5 อี ไว้ในอนุสรณ์สถานสงครามเวียดนามเพียงไม่กี่เครื่องและทิ้งส่วนที่เหลือให้ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่มีการซ่อมบำรุงและอะไหล่สนับสนุน
สหรัฐอเมริกาเองก็ยังคงใช้งานเอฟ-5 อี มาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ในสามภาระกิจคือ เป็นเครื่องบินข้าศึกสมมุติในการฝึกหลักสูตรท็อปกัน (TOP GUN) เพราะเอฟ-5 อี มีลักษณะการบินที่ใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่มิกของรัสเซียมาก ใช้เป็นเครื่องบินสังเกตการณ์การบินของอากาศยานทดลองและใช้ฝึกนักบิน โดยใช้ที-38 แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นที-45 ของอังกฤษแล้ว กองทัพอากาศไทยก็ได้ทำการปรับปรุงเอฟ-5 อี ในประจำการให้มีขีดความสามารถในการรบเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนเรดาห์ให้สามารถจับเป้าข้าศึกได้ในระยะ 25 ไมล์ เพิ่มจอฮัด (HUD) ติดระบบนำร่องแบบทาแคนซึ่งเอฟ-5 อีของกองทัพอากาศไทยเมื่อปรับปรุงแล้ว จึงมีขีดความสามารถในการยิงจรวดนำวิถีแบบไพธอน 4 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ยิงเอไอเอ็ม-9 ได้แบบเดียวเท่านั้น
เครื่องบินขับไล่เบาที่เป็นอมตะที่สุดในโลกนี้ (ยังคงประจำการในกองทัพของประเทศผู้ผลิตจนถึงปัจจุบัน) นอกจากมิก-21 แล้ว มีเพียงเอฟ-5 อีคู่ปรับที่ไม่เคยเจอกันเลยตลอดกาล